วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

Blog 'nong sroy Papatsorn

         ชือ นางสาว ประภัสสร  ใครสุวรรณ์   ชื่อเล่น สร้อย
รหัสนักศึกษา 554552129
หมู่เรียน55/98
คณะวิทยาการจัดการ
โปรแกรม นิเทศศาสตร์
สาขา วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

  1. วันนี้ขอเสนอวิธีออกกำลังกาย ขณะนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์
    เริ่มจากท่ายืดแขน
    เพียงประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน หงายฝ่ามือขึ้นฟ้า
     ยืดแขนตั้งเหนือศีรษะ หลังตรง และเอียงลำตัวไปทางซ้าย ค้างไว้ 2 วินาที
    ก่อนสลับไปทางขวา ค้างไว้เช่นเดียวกัน ทำสลับไปมา 2 รอบ
    ต่อด้วยท่าเอียงคอ
    ก้มศีรษะลง 2 วินาที แล้วเงยศีรษะขึ้นด้านบนอีก 2 วินาที
    ก่อนเอียงศีรษะไปทางซ้าย และทางขวา ค้างไว้ด้านละ 2 วินาที
    ทำสลับไปมา 2 รอบ
    เปลี่ยนเป็นท่าหมุนไหล่
    วางแขนเหยียดตรงข้างลำตัว ยกไหล่สองข้างขึ้น หมุนไปด้านหลัง ก่อนปล่อยลง
    ทำซ้ำในทิศทางตรงกันข้าม ทำสลับไปมา 2 รอบ
    ไม่รอช้าทำท่าเอียงข้าง
    เพียงห้อยแขนไว้ข้างลำตัว เอียงไหล่ และลำตัว ซ้าย-ขวา สลับกัน
    ทำสลับไปมา 2 รอบ
    จากนั้นทำท่างอข้อเท้า
    ให้ ยกขาข้างหนึ่งขึ้นจากพื้นแล้วเหยียดตรง
    เหยียดข้อเท้าให้ปลายเท้าชี้ออกไปข้างหน้า งอปลายเท้ากลับท่าเดิม
     แล้วเปลี่ยนข้าง ทำสลับไปมา 2 รอบ
    หันมาทำท่างอมือ
     ยกแขนข้างหนึ่งขึ้น แล้วเหยียดตรงไปด้านหน้า งอข้อมือขึ้นตั้งฉากกับท่อนแขน
     แล้วเหยียดลงเช่นเดิม เปลี่ยน ทำสลับไปมา 2 รอบ
     สุดท้าย
    ผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ด้วยการใช้ฝ่ามือปิดตา พร้อมกับหลับตาลง
    สูดหายใจเข้า-ออกลึก ๆ 8-10 ครั้ง เลื่อนฝ่ามือลง แล้วเปิดตา
     จากนั้นให้กระพริบตาถี่ 

    ที่มาของความหมาย:http://www.oknation.net/blog/lovelearnlife/2012/02/23/entry-1

    ที่มาของรูปภาพ:http://www.oknation.net/blog/lovelearnlife/2012/02/23/entry-1

อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

อาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพฉันใด อาหารบำรุงสายตาก็มีความจำเป็นต่อสุขภาพสายตาที่ดีฉันนั้น การมองเห็นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของคนเรา สุขภาพสายตาควรได้รับการดูแลอย่างดี
ด้วยการใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอมและรู้จักดูแลบำรุงรักษาสายตาด้วยการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินบำรุงสายตา
อาหารบำรุงสายตา จะมีวิตามินเอ สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเหมาะสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจังและคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆในแต่ละวันหรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจ้า คนที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆที่มักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้
สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นจะอยู่ในจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองตัวนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ลูทีน(Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาทำได้โดยรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin)อยู่เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตาอาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) ที่ช่วยบำรุงสายตาได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขมและข้าวโพด สารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอที่ได้จากอาหารจำพวกฟักทอง
แครอท ผักตำลึง ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก
ผักบุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้สารอาหารทั้งสองตัวนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก(Cataracts) โรคกระจกตาเสื่อม(AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย
การดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากจะรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้วยังมีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะอย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเราอาหารบำรุงสายตาช่วยให้ดวงตาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาและการปรับพฤติกรรมการทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆจะเป็นการป้องกันและช่วยถนอมรักษาดวงตา หากทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันก็เหมือนกับการบำรุงรักษาสายตาจากภายใน (กินอาหารบำรุงสายตา) และป้องกันอันตรายรบกวนกับสายตาจากภายนอก (ปรับพฤติกรรมการใช้สายตา) ซึ่งจะมีผลช่วยถนอมและรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน
 

ที่มาของความหมาย:http://www.student.chula.ac.th/~53373133/eyesfood.htm

ที่มาของรูปภาพ:http://www.optic99.com/article/art_41945897.jpg


การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

วันนี้เรามีวิธีดูแลสุขภาพ กับการทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวันกันค่ะ สิ่งที่จำเป็นทีสุดคือดวงตา ที่ต้องจ้องคอมทั้งวัน การดูแลสุขภาพดวงตา ถนอมดวงตา ได้ด้วยวิธีนี้ค่ะ


1. กระพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้ง เกิดจากการที่เรากระพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้า หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น


2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป


3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง


4. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป


5. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็น เวลานาน




ที่มาของความหมาย:http://www.watsons.co.th/wtciith/ArticleDetail2.do?articleId=9359

ที่มาของรูปภาพ:http://blog.th.88db.com/wp-content/uploads/2011/11/Notebook-008.jpg

ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ

ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย ทั้งเล่นเกม พิมพ์งาน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง กิจกรรมข้างต้นสามารถทำผ่านช่องทางอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่ทันสมัยหากใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม แทนที่จะเกิดประโยชน์ ก็อาจเกิดโทษได้

เริ่มจาก นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การทำกิจกรรมอะไรก็ตามเกี่ยวกับเทคโนโลยีจอใหญ่ จอเล็ก ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต การนั่งนาน ๆ จ้องนาน ๆ ไม่พ้นเป็นภาระดวงตา นิ้ว มือ แขน ไหล่ หลัง ก้น และขา ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น เยาวชน วัยกลางคน ผู้สูงอายุ หลายคนจะฝืนเพื่อความอยากรู้ อยากเห็น ด้วยความเพลิดเพลินทางอารมณ์ ต้องการรู้เหนือผู้อื่น ต้องการเป็นหนึ่งว่าข้าแน่ รู้ทุกอย่างที่คนอื่นไม่รู้ เพื่อจะเด่นในอาชีพ วิชาชีพของตนเอง จึงเป็นที่มาของโรคเงียบซึ่งเป็นภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผลกระทบด้านร่างกาย คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตา และโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูก ซึ่งจะทำให้มีโรคประจำตัวไปจนกระทั่งแก่เฒ่า และทำให้เป็นทุกข์ตลอดชีวิต

โรคเกี่ยวกับดวงตา การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บ เล็ต เป็นเวลานาน ถ้าระดับที่วางความสว่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อระบบของการกลอกตา ระบบกล้ามเนื้อและประสาท ซึ่งจะเกิดหลังจากใช้สายตานานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการดวงตาล้า ดวงตาตึงเครียด ตาช้ำ ตาแดง แสบ

ข้อแนะนำ คือ ควรใช้เวลาทำงานหรือเล่นกับคอมพิวเตอร์ 25–30 นาที ในแต่ละช่วงและพัก 1–5 นาที จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 20–26 นิ้ว วางคีย์บอร์ดและเมาส์ให้อยู่ต่ำกว่าศอก แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลัง ที่สำคัญไม่ควรส่องเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างเท่ากับความสว่างของห้อง ปรับความถี่ของคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับ 70–80 เฮิรตซ์ หรือปรับให้สูงสุดเท่าที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังรู้สึกสบายตา การใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว ใช้แผ่นกรองแสง และดูแลหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้มีฝุ่นเกาะติด เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจน ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือเล่นเกม ส่วน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ก็ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักสายตาเป็นระยะเช่นเดียวกัน

พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผอ.ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูก ว่า การนั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หากนั่งในท่าไม่เหมาะสม หน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตา ต้องก้ม ๆ เงย ๆ อาจทำให้กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือและปวดหลังได้ ที่พบบ่อย คือ อาการปวดคอ มีอาการตึงเมื่อย เพราะอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ พบมากในคนที่ทำงานออฟฟิศต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ดังนั้นท่านั่งจึงมีความสำคัญ เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต้องไม่ก้มหน้ามาก หน้าจอควรอยู่ในระดับสายตา ไม่อยู่ไกลสายตาจนเกินไป คีย์บอร์ดต้องอยู่ในระดับพอดี สูงกว่าเข่านิดหน่อย เพราะถ้าคีย์บอร์ดอยู่สูงเกินไป ต้องยกไหล่ขึ้น อาจทำให้ปวดเมื่อยได้

ส่วนการเล่นเกม อัพเดทข้อมูล บนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หากอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานอาจทำให้ปวดคอ ปวดหลังได้เช่นกัน ส่วนการใช้นิ้วมือเป็นเวลานาน อันตรายส่วนนี้คงไม่มาก คือ อาจทำให้ปวดเมื่อยข้อ นิ้วมือ เท่านั้น

การรักษาคนไข้ที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ จะเริ่มจากซักประวัติซึ่งมักพบว่า สาเหตุมาจากท่านั่งไม่เหมาะสม ถ้าอาการไม่รุนแรงจะแนะนำวิธีปฏิบัติตัว ปรับเปลี่ยนท่านั่ง ไม่ควรนั่งนานเกิน 30 นาที ถ้าเกินกว่านี้ควรพักลุกขึ้นมายืน ขยับตัว ขยับเอว และหลัง ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ในกรณีที่มีอาการปวดมาก ต้องให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านการอักเสบ ถ้ากลับไปแล้วยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เนื่องจากความเคยชิน หรือมีอาการมานาน อาจถึงขั้นต้องทำกายภาพบำบัด ซึ่งในคนมีอาการมานานแล้วการรักษาจะยุ่งยากขึ้น แต่ถ้าเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วมาพบแพทย์เร็วการรักษาจะง่ายโดยแก้ที่ต้นเหตุ
   
“คนอายุน้อย ๆ ที่มาพบแพทย์  20-30% มักมีปัญหาจากการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ส่วนใหญ่ถ้ามาพบแพทย์เร็วก็จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่าทาง ปรับเปลี่ยนนิสัย และจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสม



ที่มาของความหมาย:http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539363059&Ntype=41

ที่มาของรูปภาพ:http://p2.s1sf.com/ca/0/ud/182/910470/b_06048_002.jpg

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย

ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลัง

          ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่  ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล  

วิธีแก้ปัญหา

           1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี  

           2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ ๆ หน้าจอ ขนจะลุก

           3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้  

           4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ

           5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก

           6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ
ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย

           1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา

           2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นาน ๆ ไหล่จะค่อย ๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนาน ๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ

           3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.
ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย

           1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้  

           2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้  

           3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา

           4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม. 




ที่มาของความหมาย:http://health.kapook.com/view30686.html

ที่มาของรูปภาพ:http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/248/980/original_15.jpg?1285476354


วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและSocial Network


1. ภัยจากการใช้เทคโนโลยี Web 2.0 ผ่านทางเว็บ Social Network (Client-side Attack) 

การหลอกลวงผ่านทางการเข้าเว็บยอดนิยม เช่น Hi5 หรือ Face Book นั้นกำลังเป็นที่นิยมไปยังหมู่แฮกเกอร์
ด้วยเทคนิคหลากหลายรูปแบบผสมผสานกัน เช่น การใช้ Phishing ร่วมกับ Social Engineering เช่น
การหลอกให้ผู้ใช้หลงเข้าไปล็อกอินในเว็บไซต์ปลอมที่ดูเหมือนเว็บไซต์ Social Network ยอดนิยม ทำให้
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถูกขโมย Username และ Password โดยไม่รู้ตัว (Identity Theft) ยิ่งไปกว่านั้น
โปรแกรมประสงค์ร้าย เช่น โปรแกรมม้าโทรจันยังนิยมแพร่กระจายผ่านทางเว็บไซต์ Social Network
ดังกล่าวด้วย

การป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการล่อลวงผ่านทางเว็บ Social Network ดังที่กล่าวมาแล้ว คือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องคอยสังเกตเวลา Login เข้าเว็บไซต์ว่าเป็น เว็บไซต์จริงหรือเว็บไซต์ปลอม (เพื่อเป็นการป้องกันเทคนิค
Phishing) และที่สำคัญ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องมีสติระลึกให้รู้ก่อนการคลิกเม้าส์หรือการป้อนข้อมูลส่วนตัว เช่น
Username หรือ Password ลงในเว็บไซต์ที่เรากำลังใช้งานอยู่ นอกจากนี้ยังควรหมั่น Update ข้อมูลข่าวสาร
ให้เป็นปัจจุบัน โดยการเข้าไปอ่านข่าวเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ตหรืออ่านจากแมกกาซีนต่างๆ
เพื่อให้เข้าใจถึงเทคนิคการล่อลวงใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
2. ภัยจากการทำธุรกรรมออนไลน์และการใช้ e-Commerce/e-Banking (Identity Theft, Credit Card/ATM fraud and
Financial Fraud)
ภัยในข้อสองนี้กำลังมีอัตราการเพิ่มขึ้นตามความนิยมที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชอบหันมาทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น เช่น การโอนเงินไม่จำเป็น
ต้องโอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มแต่สามารถโอนผ่านระบบ Internet Banking ได้ เนื่องจากสะดวกสบาย รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในการ
เดินทาง ที่สำคัญไม่ต้องใช้บัตรเอทีเอ็มก็สามารถโอนเงินได้ หรือการซื้อของผ่านทางอินเทอร์เน็ตสามารถใช้เพียงแค่ข้อมูลในบัตรเครดิต
ก็สามารถสั่งซื้อของได้โดยง่าย ดังนั้น กลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงนิยมเจาะระบบการทำธุรกรรมออนไลน์เป็นหลัก เนื่องจาก
มีผลประโยชน์เป็นตัวเงินจากการขโมยเงินในบัญชีของเหยื่อ เรียกว่า เลิก “Hack For Fun” แต่หันมา “Hack For Money” แทน อาชญากร
ไฮเทคสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จากการประกอบมิจฉาชีพโดยการเจาะระบบโดยบางคนทำเป็นอาชีพเลยก็มี

นอกจากการเจาะระบบแล้วยังมีวิธีการโกงในแบบต่างๆ เช่น การแอบ copy แถบแม่เหล็กเพื่อปลอมบัตรเครดิต และบัตรเอทีเอ็มอย่าง
ผิดกฎหมายอีกด้วย (Skimming) นอกจากนี้ยังมีเทคนิคอื่นเช่น เทคนิค Phishing และ Pharming ล่าสุดเหยื่อภัยอินเทอร์เน็ตถูกหลอก
ให้ติดตั้งโปรแกรมม้าโทรจันลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทาง Internet Browser ยอดนิยมเช่น IE และ Firefox โดยโปรแกรมม้าโทรจัน
ดังกล่าวมักจะทำงานในลักษณะของโปรแกรมดักข้อมูลจากคีย์บอร์ด (Keylogger/Spyware) เคยมีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้นในประเทศไทย
มาแล้ว โดยลูกค้าธนาคารแห่งหนึ่งถูกขโมยโอนเงินไปกว่า 800,000 บาท จากวิธีดังกล่าว เทคนิคการหลอกหลวงนั้นยังพัฒนาเพื่อการขโมย
Username และ Password ของเหยื่อ เช่น เทคนิค Fast Flux และ เทคนิค Typosquatting หรือ URL hijacking ตลอดจนการโทรศัพท์
หลอกลวงให้เหยื่อหลงบอกข้อมูลส่วนตัวดังที่เป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ด้วยเทคนิค Vishing รวมทั้งการหลอกลวง
โดยเทคโนโลยีดั้งเดิมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ได้แก่ เทคนิค “Social Engineering” โดยการหลอกอำเหยื่อเพียงแค่ส่งอีเมล์มาหลอก
นิยมเรียกเทคนิคนี้ว่า “Internet SCAM” เช่น การได้รับจดหมายหลอกลวงจากประเทศไนจีเรีย (Nigerian SCAM) โดยหลอกลวงว่าเราจะ
ได้รับเงินก้อนใหญ่แค่เพียงโอนเงินค่าธรรมเนียมเล็กน้อยไปให้เขาก่อน เรียกว่า “ตกทองยุคไฮเทค“ ก็ว่าได้

ทางแก้ปัญหาทั้งหมดดังกล่าวนี้ ก็เป็นทางแก้ปัญหาในแบบเดิมๆ ด้วยการกำหนดสติเวลาที่เรากำลังทำธุรกรรมออนไลน์ โดยต้องไม่หลงเชื่อ
อีเมล์หลอกลวงที่ทำให้เราเกิดความโลภและตกเป็นเหยื่อโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ส่วนการถูกแอบปลอมบัตรเครดิตนั้น ทางแก้คือ เราควรหมั่น
ตรวจเช็ค Credit Card Statement และถ้าพบปัญหาให้แจ้งไปยังธนาคารต้นสังกัดที่เราใช้บัตรเครดิตอยู่ ก็สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหา
ดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง
3. ภัยจาก “BOTNET” (Robot Network)

กล่าวถึงปัญหา BOTNET เป็นปัญหาใหญ่ของ ISP ทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะจะทำให้ลูกค้าของ ISP ได้แก่
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านถูกยึดเครื่องคอมพิวเตอร์เปลี่ยนไปเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของแฮกเกอร์โดยไม่รู้ตัว เมื่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ถูกยึดมีจำนวนมากขึ้น เป็นหลักพัน หลักหมื่น ก็จะทำให้การจราจรข้อมูลของ ISP ในภาพรวมเกิดปัญหาเรื่อง
ความล่าช้า

ISP บางรายไม่สามารถให้บริการได้ในบางช่วงเวลา ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตตามบ้านยังไม่มีความเข้าใจ
และยังไม่ระมัดระวังภัยที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้รับข่าวสารทาง eMail ว่าจะ
มีภัยสึนามิ เกิดขึ้นในภาคใต้เป็นครั้งที่ 2 ก็รีบเปิดไฟล์ดูกันด้วยความตื่นตระหนกตกใจในข่าวดังกล่าว เป็นเหตุให้ถูกหลอก
ให้เปิดโปรแกรมไวรัส หรือ Worm ทำให้เครื่องของเหยื่อกลายเป็น “BOT” หรือ “Zombie” ไปโดยปริยาย

จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อจะถูกควบคุมระยะไกล (Remote Admin) โดยผู้ไม่หวังดีที่ส่งโปรแกรมไวรัส หรือ Worm
ดังกล่าวหลอกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมาทาง “eMail ข่าวร้ายหลอกลวง” ที่เราได้รับจากการ SPAM eMail ของผู้ไม่หวังดี
ยกตัวอย่างการใช้วิธีการหลอกลวงแบบนี้นิยมกันมากในทวีปยุโรปที่เรียกว่า “Storm Worm” โดยใน eMail มีเนื้อความ
หลอกว่ามีคน 230 คนตายเนื่องจากพายุที่เกิดขึ้นในยุโรป เป็นต้น

4. ภัยจากพนักงานภายในบริษัทหรือลูกจ้างชั่วคราวเข้าเจาะระบบของบริษัทเอง (Insider Attack)

โดยปกติแล้วพนักงานบริษัททั่วไปจะมีคอมพิวเตอร์ใช้งานกันทุกคนและ จากผลการสำรวจ พนักงานบริษัทมักใช้อินเทอร์เน็ต 
ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของบริษัทอยู่มากพอสมควรเช่น การดาวน์โหลดหนัง โหลดเพลง การใช้ MSN และการ 
ใช้งานเว็บไซต์ Social Network นอกจากเรื่องเสียเวลาทำงานแล้ว (ซึ่งไม่ใช่ประเด็นหลัก) ปัญหาที่ควรกังวลก็คือการที่ผู้ใช้
คอมพิวเตอร์รู้เท่าไม่ถึงการณ์เผลอโหลดหรือเปิดไฟล์ไวรัสที่ถูกส่งมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต จากการใช้งานโปรแกรมดังกล่าว
โดยไม่ระมัดระวัง ทำให้เครือข่ายภายในบริษัทหรือองค์กรเกิดปัญหาติดไวรัสเป็นจำนวนมาก 

ทางแก้ปัญหาสามารถทำได้โดยการกำหนดให้มีนโยบายหรือ Security Policy ที่เราเรียกว่า “Acceptable Use Policy” (AUP)
เพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ได้ปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมที่เราเรียกว่า “iSAT” หรือ “Information
Security Awareness Training” เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้มาก 

องค์กรใหญ่ๆ หลายองค์กรนิยมเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวเป็นประจำทุกปี โดยการที่จะให้ได้
ผลที่ดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอบรมพนักงานทุกคนทั้งกลุ่ม IT และ Non-IT นอกจากนี้ ปัญหา Insider Attack ในรูปแบบ 
อื่นๆ ที่รุนแรงกว่าปัญหาความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของการใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ได้แก่ ปัญหาที่เกิด 
จากการที่พนักงานบางคนมีเจตนามุ่งร้ายในการแอบขโมยข้อมูลบริษัทเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว หรืออาจจะเกิดจากความแค้น 
ในบางเรื่อง แล้วทำการเจาะเข้าระบบของบริษัทตัวเอง ซึ่งธรรมดาการเจาะระบบจากคนในก็จะง่ายกว่าคนนอกมาเจาะระบบ
อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการเจาะระบบจากภายในเอง ทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไปโดยง่าย ไม่ว่าจะผ่านทางการส่ง eMail หรือ
copy ลง USB Drive ก็ยากที่จะตรวจสอบ หากบริษัทหรือองค์กรไม่มีเทคโนโลยีชั้นสูงไว้ป้องกัน 

สิ่งที่น่ากลัวในอนาคตก็คือ อัตราการเพิ่มของ Insider Attack นั้นมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้การป้องกันข้อมูลรั่วไหล
ในองค์กร หรือ “Data Loss Prevention” กลายเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมา ในองค์กรที่มีข้อมูลสำคัญอยู่เช่น ธนาคาร
บริษัทที่ปรึกษา บริษัทวิจัย บริษัทออกแบบ และบริษัทที่มีทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญกับการดำเนินการธุรกิจ
ทางแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น ควรมีเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลจากที่กล่าวมาแล้วคือ Data Loss Prevention
(DLP) และ Digital Right Management (DRM) ปัญหาคือเทคโนโลยีดังกล่าวยังมีราคาค่อนข้างสูง อาจนำมาใช้ได้ 
ในบางระบบก่อน แล้วค่อยเพิ่มเติมในภายหลัง 

ทางแก้ปัญหาอีกทางที่ได้ผลคือ การหมั่นตรวจสอบระบบโดย Internal Audit หรือ External Audit อย่างสม่ำเสมอ 
ก็จะช่วยให้เราทราบถึงเหตุการณ์ผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามออกไปในอนาคต เพราะความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นจากข้อมูลรั่วไหลนั้น เป็นความเสียหายที่รุนแรง อาจทำให้บริษัทถูกฟ้องร้องซึ่งมีบริษัทที่ต้องปิดกิจการไปแล้ว 
หลายราย ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงไม่ควรมองข้ามภัยข้อนี้อย่างเด็ดขาด5. ภัยจากความไม่เข้าใจในแนวคิด Governance, Risk Management and Compliance (GRC) ของผู้บริหาร
ระดับสูงในองค์กร


แนวคิด “GRC” ย่อมาจาก “Governance , Risk Management and Compliance” กำลังเป็นแนวคิดที่ได้รับความนิยม 
ไปทั่วโลก เห็นได้จากหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการควบคุมกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กลต. สตง. ตลอดจน
สคร. (โดยบริษัท TRIS Corporation) ได้กำหนดกฎเกณฑ์ในการประเมินและตรวจสอบ (Assess and Audit) หน่วยงาน 
ภายใต้การกำกับดูแลโดยใช้แนวความคิด GRC ด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแนวความคิด GRC นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง 
ในการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่ต้องการความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการปัญหาก็คือ ผู้บริหารระดับสูงใน 
องค์กร ส่วนใหญ่ยังไม่ซึมซับในแนวคิด GRC อย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ โดยยังไม่เข้าใจในปรัชญาและแนวการปฏิบัติตาม 
แนวคิดดังกล่าว ทำให้องค์กรไม่ผ่านการตรวจสอบหรือมีคะแนนจากการตรวจสอบในระดับต่ำ ส่งผลให้ KPI ของผู้บริหาร 
ตลอดจนองค์กรโดยรวมนั้นไม่ผ่านเกณฑ์ที่ Regulator ได้กำหนดไว้

ถามว่าเรื่อง GRC มีความเกี่ยวข้องกับภัยอินเทอร์เน็ตตรงไหน ตอบได้ว่า ปัญหาจากความไม่เข้าใจในหลักการบริหาร 
ความเสี่ยงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับ
ต่างๆ สามารถเกิดขึ้นโดยง่ายผ่านการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ถูกต้อง หรือ อาจเกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตของพนักงานภายใน 
องค์กรแล้วไปละเมิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว เช่น พนักงานบริษัทมีการทำผิดในพรบ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
โดยการ Forward ภาพลามกอนาจาร หรือ ผู้ดูแลระบบสารสนเทศไม่มีการจัดเก็บ Log File ไว้ในระบบ Centralized Log
อย่างน้อย 90 วัน เป็นต้น 



ที่มาของความหมาย:http://www.beenets.com/bee_link_top10_09.html

ที่มาของรูปภาพ:https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiGbbQivd3zx0oRBzd8SLWThPzpMfZvZ9uKLrg92n6QizBxZxiFKwi1IGDne6s1YxqB9TkWiqRYOnoPgG7yJOjTAeWRQ4MmhHO2GSuCNNk4uUGIE68B9gIkrws4rK8pyKPfmsGIOrywiro/s640/Social-Networking-Overload.jpg